top of page
ค้นหา
  • Readclassic

Time Signature (เครื่องหมายกำหนดจังหวะ) ทำความรู้จักว่าคืออะไร

Time Signature (เครื่องหมายกำหนดจังหวะ) ถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานของนักดนตรีทุกคนก็ว่าได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือสมัครเล่นหรือเข้าขั้นมือโปรมืออาชีพก็ตาม เพราะพูดได้ว่าเกือบทุกเพลงที่ถูกสร้างขึ้นมา จะดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ดนตรีป๊อป ดนตรีร็อก ตลอดจนดนตรีฮิฟฮอฟ ไม่ว่าจะเพลงไหนประเภทไหนก็ล้วนมีจังหวะที่ค่อยกำกับอยู่ เมื่อเวลาที่คุณฟังเพลงแล้วเคาะเท้า ดีดนิ้ว ตามจังหวะของเพลง สิ่งนี้เองถือว่าเป็นจังหวะนั้นล่ะ



เราไม่สามารถบอกถึงจุดเริ่มต้นที่ไปที่มาของ Time Signature ได้อย่างชัดเจน แต่มันเริ่มปรากฏอยู่ในโน้ตเพลงตั้งแต่ช่วงปลายยุคกลาง (ค.ศ. 1250 - 1500) เป็นต้นมา ซึ่งได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าในช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะมีการจดบันทึกอยู่ในโน้ตสกอร์เพลง เรื่องของอัตราจังหวะถูกเรียนรู้และถ่ายทอดกันด้วยวิธีการ “ปากต่อปาก



สำหรับอัตราจังหวะแต่ละแบบล้วนมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว แต่ที่จะได้รับความนิยมหรือพบบ่อยสุดก็จะเป็นพวก 4/4, 3/4, 2/4 และ 6/8 ในส่วนอัตราจังหวะอื่นๆ อาทิ 5/4, 7/8 หรือ 11/8 จะเป็นอัตราจังหวะที่จะมีความเฉพาะ ซึ่งบางจังหวะจะให้ความรู้สึกที่ผู้ฟังไม่สามารถคาดเดาได้ สิ่งนี้ได้ทำให้การเลือกใช้กับเพลงมีความเฉพาะเจาะจงมากๆ



แล้วเราจะรู้ได้อย่างไงว่าเพลงที่กำลังฟังเป็นจังหวะอะไร ?



ถ้าให้ตอบแบบทื่อๆ ก็ใช้หูฟังเป็นอย่างแรกก่อน หลังจากนั้นก็ลองเคาะเท้า ลองตบมือตามจังหวะเพลงไป โดยถ้าเป็นเพลงป๊อปในไทยส่วนใหญ่ก็เป็น 4/4 และก็ 6/8 ที่นิยมใช้เช่นกัน ซึ่งวิธีนี้เป็นอะไรที่ง่ายที่สุดแล้วที่จะรู้ว่าเพลงที่ฟังอยู่เป็นจังหวะอะไร นอกจากนี้ก็การไปหาโน้ตหาสกอร์เพลงมาดูกันไปเลย และตรงนี้คือบริบทของผู้ฟังเพียงเท่านั้น



ในส่วนนักดนตรี “จังหวะ” ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะถ้าเล่นกันไม่เป็นจังหวะ ดูไงก็ไม่น่าจะฟังเป็นเพลงได้ เท่ากับว่า Time Signature จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ตีกรอบในเรื่องจังหวะของนักดนตรีเสียมากกว่า เพลงนี้จำเป็นต้องใช้อัตราจังหวะนี้ หากต้องการอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้เป็นต้น ซึ่งฟังดูเป็นอะไรที่ง่ายดายมากๆ ใช่ไหมล่ะ แต่พูดเลยว่าเรื่องนี้ล่ะสร้างความประสาทเสียประสาทแดกให้กับนักดนตรีทุกคนอย่างแน่นอน ยิ่งอัตราส่วนประหลาดๆ มากสักเท่าไหร่ ร้องจ๊ากกันทุกราย



เข้าใจความหมายของตัวเลข



สำหรับตัวเลขสองตัวที่ซ้อนทับกัน สิ่งนี้ล่ะเป็นตัวที่บอกว่าเพลงนี้มีอัตราจังหวะอยู่เท่าไหร่ นับยังไงให้ถูกต้องตามที่ผู้แต่งเพลงเขาต้องการ โดยตัวเลขบนจะเป็นตัวบ่งบอกว่าในหนึ่งห้องจะมีได้กี่จังหวะ อย่างเช่น 4/4, 3/4 และ 2/4



สำหรับตัวเลขด้านหลัง จะเป็นตัวบอกว่าจะใช้โน้ตแบบไหนในการนับ 1 จังหวะ


การทำความเข้าใจเรื่อง Time Signature ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักดนตรี เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้กำหนดจังหวะของเพลงได้ และรู้ว่าเมื่อใดควรเน้นจังหวะบางจังหวะ ซึ่งอัตราจังหวะที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ฟังเพลงอย่างแน่นอน





bottom of page