top of page
ค้นหา
  • Readclassic

Musique concrète ประวัติโดยย่อและแนวคิดสำคัญ



Musique concrète คืออะไร

เป็นลักษณะดนตรีและเทคนิคการประพันธ์เพลงประเภทหนึ่งที่นำเสียงแวดล้อมทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น เสียงเครื่องดนตรี เสียงบนท้องถนน เสียงมนุษย์ หรือทุกสิ่งอย่างที่สามารถบันทึกได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม โดยนำทั้งมาตัดแต่ง แก้ไข และสร้างเป็นเสียงดนตรีหรือเพลงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นช่วงหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2



จุดเริ่มต้นของ Musique concrète

ในช่วงประมาณปีค.ศ. 1940 ได้มีประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสนาม Pierre Schaeffer (ปิแอร์ เชฟเฟอร์ ) เป็นผู้บุกเบิกเป็นคนแรก ๆ ณ ช่วงเวลานั้นตามหลักฐานที่มีการเผยแพร่ผลงานออกมา ใช้ชื่อว่า Cinq études de bruits (Five Studies of Noises) ซึ่งเป็น 5 études ที่แบ่งออกเป็น 5 บทประพันธ์ ดังนี้


  1. "Etude aux chemins de fer" - เป็นการบันทึกเสียงที่เกิดขึ้นจากบริเวณรางรถไฟ ทำให้ผสมผสานเสียงแวดล้อมบริเวณนั้นเข้าด้วยกัน อาทิ เครื่องยนต์ เสียงนกหวีด ผู้คน และอื่น ๆ

  2. "Étude aux tourniquets" - เป็นการบันทึกเสียงลูกข่างและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบในหลากหลายชนิด และนำมารวมกัน

  3. "Étude violette" - เป็นการบันทึกเสียงเปียโนโดย Pierre Boulez นักประพันธ์เพลงในตำนาน

  4. "Étude noire" - เป็นการบันทึกเสียงเปียโนโดย Pierre Boulez เช่นกัน แต่ลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นต่างกัน

  5. "Étude pathétique" - เป็นการบันทึกเสียง กระทะ เรือในคลอง เสียงร้อง เสียงการพูดสุนทรพจน์ ฮาร์โมนิก้า และเปียโน โดยนำมาผสมตัดต่อจนเกิดลีลาของเสียงที่น่าสนใจมากแม้ในปัจจุบัน


"แม้เวลาจะผ่านราว 70 ปี แต่ผลงานชุดก็ยังคงโด่งดังและยังคงถูกกล่าวถึงจนปัจจุบัน"


อุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงแรก


ในช่วงเวลาแรก นักประพันธ์จะใช้การบันทึกเสียงในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถหาได้จนหรือแม้ทั้งใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียงเผื่อหาทางสร้างเทคนิคนี้ แต่ในเวลาต่อมาได้เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงเกิดอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกผู้ประพันธ์มากขึ้น ดังนี้


Phonogène เป็นเครื่องจักรที่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเสียงได้เกิดขึ้นในช่วงปีค.ศ. 1953

มีโครงสร้างการทำงานได้ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงความยาวของเสียงที่เกี่ยวข้องกับอัตราความเร็ว/ช้า

  • การเปลี่ยนแปลงระดับเสียงซึ่งจะสอดคล้องกับความเร็ว/ช้า (หากค่าเวลาของเสียงถูกเปลี่ยนจะส่งผลต่อระดับเสียง เช่น เร็วขึ้นระดับเสียงสูงขึ้น ช้าลงระดับเสียงต่ำลง)

  • เสียงมีค่าสั้นยาวที่เปลี่ยนไปทำให้เนื้อและเอกลักษณ์ของเสียงไม่เหมือนเดิม


เครื่อง Phonogène ผลิตออกมา 3 รุ่นตามลำดับ ดังนี้

  1. Chromatic Phonogène

  2. Sliding Phonogène

  3. Universal Phonogène


The chromatic phonogène

Three-head tape recorder

เป็นเครื่องบันทึกเทปในยุคแรก ๆ ของโลกที่สามารถเล่นเสียงที่บันทึกหลายเสียงพร้อมกันได้ซึ่งมีช่วงเวลาหนึ่งได้ถูกมาทดลอง หาวิธีการที่จะนำมาใช้ในเทคนิค Musique concrète ด้วยเช่นกัน นักประพันธ์ที่ทดลองกับเครื่องเทปนี้ จนกระทั่งสร้างสรรค์เป็นผลงานได้ อาทิ Olivier Messiaen และ Pierre Henry


Morphophone

เป็นเครื่องจักรที่ถูกสร้างในช่วงหลังจาก Phonogène เกิดขึ้นมาได้ระยะหนึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นในซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาไปอีกขึ้น สามารถทำทุกอย่างที่ Phonogène ทำได้แต่ ซับซ้อน และง่ายดายมากกว่า รวมถึงสามารถสร้าง Feedback (การสะท้อน) และ Filter (การกรองเสียง) ด้วยตัวเองได้


Morphophone

จากนั้น ก็ได้มีผู้ผลิตคิดค้นอีกมากมายทางฝั่งสำนักเยอรมัน ได้คิดค้นเครื่อง "Coupigny synthesiser and Studio 54 mixing desk" พัฒนาโดย Enrico Chiarucci และ ตั้งชื่อเรียกตามผู้ออกแบบ François Coupigny ในปีค.ศ.1970 ซึ่งปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้อยู่


นอกจากนั้นในปีค.ศ. 1974 อุปกรณ์ชิ้นใหม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นในชื่อ "Acousmonium" คิดค้นโดย François Bayle นักแต่งเพลงและนักประดิษฐ์ชาว มาดากัสการ์ (Republic of Madagascar) โดยมี Pierre Schaeffe เป็นผู้นำเสนอต่อสาธารณะ และนำมาใช้ในคอนเสิร์ตมากมาย โดยหลักการทั้งสองเครื่องนี้ล้วนมาจากแนวคิดพื้นฐานของ Musique concrète ทั้งสิ้นจะต่างที่รายละเอียดของหน้าตา ความซับซ้อนในการตัดแต่งเสียง และวิธีการการใช้งาน


ในเวลาต่อมา บริษัท Make Noise จากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิต ยูโรแร็ค (Eurorack modular) เจ้าดังได้ผลิตโมดูล (Module) ภายใต้ชื่อ Make Noise: Phonogene ออกมาสู่ตลาดและเป็นที่นิยมมากช่วงเวลาที่ผลิตโดยพวกเขาได้อธิบายว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ดนตรีของ Pierre Schaeffer และ Musique concrète รวมไปถึงนำแนวคิดของเครื่อง Phonogène มาจำลองเป็นโมดูลในระบบ Eurorack แม้ปัจจุบันจะเลิกผลิตแล้วแต่ยังคงต่อยอดไปสู่โมดูลรุ่นต่อไปที่ชื่อ Make Noise: Morphagene โดยเป็นการร่วมงานกันระหว่าง Tony Rolando ผู้บริหารและผู้ก่อ Make Noise กับ Tom Erbe โปรแกรมเมอร์และศิลปินนักทดลองด้านเสียงหรือที่รู้จักกันในชื่อ Soundhack และพัฒนาให้เป็นโมดูลที่ซับซ้อนมากขึ้นและใช้แนวคิดพื้นฐานมาจากเทคนิค Granular synthesis ของ Iannis Xenakis และยังมีโมดูลและซินธิไซเซอร์ จากผู้ผลิตรายอื่นอีกมากมายที่สร้างเสียงจากเทคนิค Musique concrète โดยใช้พื้นฐานแนวคิดดังกล่าว อาทิ Monome: Norns (โดยผู้ใช้งานสร้าง Script ขึ้นเองในชื่อ Concréte) จากประเทศสหรัฐอเมริกา


Make Noise: Phonogene

Make Noise: Morphagene





จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าเราจะใช้อุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเทคนิคนี้แต่จริง ๆ แล้วยังสามารถใช้วิธีการอื่นได้ด้วยเช่นกัน ดังนี้

  • Tape Cassette (ตลับเทป) มาตัดต่อ ตัดแปะ หรือยืดได้ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีที่เห็นภาพของเทคนิคนี้ได้ดีมาก แต่ในปัจจุบันเราอาจหาตลับเทปได้ยาก เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ไม่นิยมใช้แล้ว

  • Computer (คอมพิวเตอร์) แบ่งเป็น 2 แบบ

  1. DAW (Digital Audio Workstation) เช่น Logic Pro หรือ Reaper เพื่อนำมาตัดต่อ ตัดแปะเสียงตามเทคนิคการสร้าง Musique concrète (ผู้เขียนขอแนะวิธีการนี้สำหรับผู้ที่เริ่มต้นสนใจในดนตรีลักษณะนี้)

  2. Coding Music Software เช่น Max/Msp, Pure Data, Super Collider และอื่น ๆ ซึ่งวิธีนี้จะจากขึ้นมาอีกขั้นผู้ใช้งานสามารถสร้าง Patch ต่าง ๆ ของตนเองเพื่อใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างอิสระ



หลักการพื้นฐานของเทคนิค Musique concrète

  1. Split - การแยกเสียง

  2. Reverse - การเล่นย้อนกลับ

  3. Loop - การเล่นซ้ำ

  4. Change-envelope - การกำหนดความสั้น/ยาวของเสียงใหม่

  5. Time / Speed manipulation - การจัดการกับความเร็ว/ช้า/เวลา

  6. Pitch-shift - การเปลี่ยนระดับเสียง

  7. Mixing - การนำเสียงมาผสมและสลับตำแหน่ง

  8. Layer - การแบ่งชั้นการซ้อนทับของเสียง

ทั้งที่กล่าวมานี้ส่งผลต่อเสียงในมิติที่แตกต่างกัน อาทิ

  • การปรับเปลี่ยนเวลามีผลต่อระดับเสียง เช่น เสียงถูกยืดให้ช้าลงจะทำให้ระดับเสียงต่ำลงตาม

  • การปรับเปลี่ยนสั้นยาวของเสียงทำให้เกินเอกลักษณ์เสียงใหม่ เช่น เสียงไวโอลินทำให้สั้น อาจใช้เป็นเสียงประกอบจังหวะได้

  • การย้อนกลับของเสียงส่งผลให้เมโลดี้ของเสียงเปลี่ยนไป


ตัวอย่างเพลง


Etude Aux Chemins De Fer ประพันธ์โดย Pierre Schaeffer



Iannis Xenakis ในบางบทเพลงจะผสมสานหลายเทคนิค เช่น เทคนิค Granular Synthesis




"บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม"


เขียนโดย มหกิจ มหานีรานนท์

bottom of page